ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกอร์ นางสาวชลธิชา สุนาคำ (อุ้ม) ปฐมวัยปี2 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม :)

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี   12/ก.ค/2556
ครั้งที่5   เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10  เวลาเลิกเรียน 16.40
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น


    อาจารย์ให้วาดสิ่งที่นึกถึงตอนเด็ก คิดได้เรยวาดรูปนี้ พอออกไปเล่าถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ มันไม่ใช่ของซื้อใหม่ แต่มันเป็นของที่คนรวยเขาทิ้ง ลุงเอามาให้พร้อมซ้อมให้มันเล่นได้ เด็กบ้านนอกคนหนึ่งมีเกมส์กดที่ไม่ใช่ราคา 99 บาท แต่มันเป็นเกมส์กดที่มีเกมส์มาริโอ ตัวอะไรไม่รู้วิ่งแตะเต่า กินเห็ดแร้วตัวโต กินตอกไม้ไฟพ่นไฟได้ มันเป็นอะไรที่เยี่ยมมาก เพื่อนๆลุมใหญ่เลย เพราะอยากจะเล่นเกมส์กดของอุ้ม ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไร ที่รู้ๆ คือมันมีเกมมาริโอ้ กะเกม ชินจัง มันสนุกจริงๆ


องค์ประกอบของภาษา

               1. เสียง (Phonology) 
                    -ระบบเสียงของภาษา
                    -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
                    -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
                2. ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
                    -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
                    -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
                    -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
                3. ไวยากรณ์ (Syntax)
                   - คือ ระบบไวยากรณ์
                   - การเสียงรูปประโยค
                4. Pragmatic
                   - คือระบบการนำไปใช้
                   -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

แนวคิดนักการศึกษา
   Skinner
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
   John B. watson
           -ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
           -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
         - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
         - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
         - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
         - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
         - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น


นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
   Piaget
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
    Vygotsky
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
         - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
         - ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก


แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
   Arnold Gesell
         - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
         - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
         - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
         - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด
    Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
           - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice) 
แนวคิดของ O. Hobart Mowrer
           - คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ


แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
            - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995 ) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
    1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
            - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
            - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
    2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
            - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
            - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
    3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
            - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
           - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น